วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สาธกโวหาร


๔. สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร การเลือกยกตัวอย่างจึงควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ


หลักการเขียนสาธกโวหาร

ควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาในบางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะโวหารนั้น ๆ

ตัวอย่างสาธกโวหาร
…แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจในทางเห็นแก่ตัว เพื่อประโยชน์ของตัวฝ่ายเดียว และผลแห่งการกระทำนั้นไม่เป็นคุณกับใคร แม้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองของตัว เช่นนี้เราก็ไม่น่าจะยอมรับเป็นความยิ่งใหญ่ ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ไทยของเราเองก็มีอยู่เป็นอันมากไม่มีใครจะปฏิเสธได้ว่า พระเพทราชาหรือพระเจ้าเสือไม่เป็นผู้ยิ่งใหญ่ทางอำนาจวาสนา ท่านได้สร้างอำนาจขึ้นมาด้วยความฉลาดเฉียบแหลมด้วยเล่ห์เหลี่ยมกุศโลบายนานาประการ ด้วยความสามารถในการทำรัฐประหารแย่งราชสมบัติทางทายาทโดยชอบธรรมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ถืออำนาจเต็มเปี่ยมอยู่ในมือ การกระทำดังกล่าวเป็นตัวอย่างแห่งความยิ่งใหญ่ทางการเมืองแท้ คือ ไม่ต้องนึกถึงศีลธรรมหรือความผูกพันทางจิตใจ ฆ่าได้ไม่เฉพาะแต่ศัตรู แม้มิตรก็ฆ่าได้ ถ้ามิตรนั้นไม่มีประโยชน์อะไรต่อไปอีก…
กุศโลบายสร้างความยิ่งใหญ่ : หลวงวิจิตรวาทการ)

13 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ1/4/56 21:18

    ดีมาก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ1/4/56 21:19

      หรอย่ะ

      ลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ17/5/56 23:00

    ยาวไปอ่ะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ29/5/56 20:28

    ข้อมูลและตัวอย่างเข้าใจง่ายมากคะ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ20/6/57 12:56

    ขอบคุณคร้าบ

    ตอบลบ
  5. คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ8/11/65 18:45

      โง่

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ24/7/66 07:53

      ค่ะ

      ลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ6/12/59 11:16

    ไอ้เหี้ยเจงเป้ง

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ6/12/59 11:17

    ชอบมาก

    ตอบลบ
  8. ขอไปทํารายงานนะคร้าาาา

    ตอบลบ
  9. ดีมากครับ

    ตอบลบ